top of page

สารพัดนึก รวมบทสวดพระคาถาดีๆ

สารพัดนึก
สารพัดนึก

สารพัดนึก รวมบทสวดพระคาถาดีๆ

สารพัดนึก
สารพัดนึก

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สมัยนี้หากต้องการประสบความสำเร็จไม่ว่าเรื่องใด ๆ ก็ตาม นอกจากต้องอาศัยความเก่งแล้ว ยังต้องมี “ความเฮง” ด้วยเช่นกัน ซึ่งทุกคนสามารถเสริมความเฮงให้กับตนเองได้ด้วยวิธีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการบูชาเครื่องรางของขลัง การรักษาศีล รวมไปถึงการสวดมนต์ไหว้พระด้วยเช่นกัน

สำหรับในประเทศไทย ซึ่งเป็นเมืองพุทธ การสวดมนต์ไหว้พระเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราเลยก็ว่าได้ ซึ่งการสวดมนต์ไหว้พระ เป็นการตั้งจิตให้อยู่ในบุญกุศล จิตใจก็จะสะอาดขึ้น บริสุทธิ์ขึ้น และเป็นการยกระดับจิตใจของผู้สวดด้วยเช่นกัน

ดังนั้น จึงเป็นที่แน่ชัดว่าในชีวิตประจำวันของเราก็ต้องมีความเกี่ยวข้องกับบทสวดมนต์ คาถาต่าง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งคาถาก็มีอยู่มากมายหลายบท เพื่อให้ผู้สวดสามารถนำไปใช้ได้ตามแต่วัตถุประสงค์ของบุคคลนั้น ๆ เช่น เพื่อให้เกิดสิ่งดี ๆ ในชีวิต, เพื่อให้การทำงานราบรื่นไม่มีอุปสรรค, เพื่อให้ผู้ใหญ่รักใคร่เอ็นดู, เพื่อให้ค้าขายดี ร่ำรวย เงินทองไหลมาเทมา และเพื่อให้แคล้วคลาดปลอดภัย ฯลฯ

1. คาถาชินบัญชร โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ค้นพบในคัมภีร์โบราณและได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถานี้เป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้เกิดสิริมงคลแก่ตนเอง ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่าง ๆ

ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม 3 จบ แล้วระลึกถึงหลวงปู่โตและตั้งคำอธิษฐาน แล้วเริ่มสวด

เริ่มสวด นะโม 3 จบ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นึกถึงหลวงปู่โตแล้วตั้งอธิษฐาน

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ

เริ่มบทพระคาถาชินบัญชร

ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.

ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา.

สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.

หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.

ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.

เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว

กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิคุณากะโร.

ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ.

เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง

ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา

ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.

อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสา วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.

ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.

อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ. คำแปล

พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์

มี 28 พระองค์ คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นต้น พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น

ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก

พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง

พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย

มุนีผู้ประเสริฐคือพระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสง อยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง

พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ

พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวลี พระเถระทั้ง 5 นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก

ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือผู้มีชัยและเป็นพระโอรส เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วน รุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่

พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคสูตรอยู่เบื้องหลัง

พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ

อนึ่ง พระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น

ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใด ๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดี เป็นต้น เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ

ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล

ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใด ๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพ แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติและรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ

สารพัดนึก
สารพัดนึก

สารพัดนึก
สารพัดนึก

2.คาถาเงินล้าน

คาถานี้เป็นคาถามหาลาภ จะช่วยให้ผู้ที่ท่องด้วยความเคารพมีลาภไม่ขาดแคลนตามสมควรแก่วาสนาบารมี ก่อนจะว่าคาถาให้นึกถึงพระพุทธเจ้าและท่านเจ้าของคาถาด้วยความเคารพก่อน ถ้าผู้ท่องมีการให้ทานด้วย จะทำให้คาถาให้ผลดียิ่งขึ้น ถ้าท่องคาถาก่อนให้ทาน ขณะให้ทาน และหลังให้ทานด้วย คาถายิ่งมีพลัง ยิ่งถ้าทำจิตให้เป็นสมาธิขณะท่องด้วยก็ยิ่งดี วันหนึ่งท่องคาถาอย่างน้อย 9 จบ ถ้ายิ่งท่องมากเท่าไรก็ยิ่งดี จะไม่อัตคัตขาดแคลนในสิ่งทั้งปวง และหมั่นรักษาศีล 5 ด้วยจะยิ่งดีมากขึ้น

ตั้งนะโม 3 จบ

นะโมตัสสะ ภัคคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ ภัคคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ ภัคคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ สัมปจิตฉามิ นาสังสิโม พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุ เม มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุ เม มิเตพาหุหะติ พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม สัมปติจฉามิ เพ็ง เพ็ง พา พา หา หา ฤๅ ฤๅ (บูชา 9 จบ )


สารพัดนึก
สารพัดนึก

3. คาถาเมตตามหานิยม (สมเด็จพระพุฒาจารย์โต)

เป็นคาถาที่นิยมใช้กันมาก เพราะเมื่อใช้พระคาถานี้แล้วจะมีเมตตามหานิยมประเสริฐนักแล ใช้ภาวนาคาถาก่อนออกจากบ้าน จะทำให้คนที่พบเจอมีความรู้สึกที่ดี การติดต่อเจรจาใด ๆ ก็จะราบรื่นไม่ติดขัด ให้สวด 9 จบ จะสัมฤทธิผลทางด้านเมตตามหานิยมเป็นอย่างสูง ใครพบเห็นจักมีเมตตาต่อตัวเรา ไม่มีศัตรูหมู่มารมากล้ำกรายทำอันตรายใด ๆ

ตั้งนะโม 3 จบ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ท่องคาถาดังนี้

นะเมตตา โมกรุณา พุทธปราณี ธายินดี ยะเอ็นดู นะโมพุทธายะ นะมะอะอุ หรือท่องสั้น ๆ ดังนี้

เมตตา คุณะณัง อะระหัง เมตตา


สารพัดนึก
สารพัดนึก

4. คาถาบูชาพระพิฆเนศ

คาถาสำหรับบูชาพระพิฆเนศนั้น ในแบบดั้งเดิมโบราณมีเป็นร้อย ๆ กว่าบท และแบบสมัยใหม่ที่มีการดัดแปลงความหมายให้เหมาะสมก็มีอีกหลายพันบท ตามแต่ละประเทศ ลัทธิ และวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แตกต่างกันออกไป

สารพัดนึก
สารพัดนึก

4.1 คาถา บทสวดบูชาพระพิฆเนศที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด อันได้แก่

– โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ (เป็นบทสวดหลัก)

– โอม กัง คณปัตเย นะมะหะ (บทสวดของอินเดียเหนือ)

– โอม พิไลยาร์ พิไลยาร์ นะโม นะมะหะ (บทสวดของอินเดียใต้)

– โอม เหรัมภายะ นะมะหะ (หมายถึง ขอบูชามหาเทพผู้ยิ่งใหญ่)

– โอม เอกทันตะ ยะนะมะหะ (หมายถึง ขอบูชาเทพผู้มีงาข้างเดียว)

– โอม กัง คณปติ ชารานัม กะเนชา (หมายถึง ขอบูชาเทพผู้ทรงเป็นเกราะกำบังข้าพเจ้า)

– โอม วักกระตุณฑา ฮัม (หมายถึง ขอนมัสการเทพผู้มีงวงยาวโค้ง)

– โอม ชยะคเณศา / ชยะคเณศา / ชยะคเณศา เทวา (หมายถึง ขอชัยชนะจงมีแด่องค์พระพิฆเนศ)

– โอม ศรี มหา คณาธิ ปัตเย นะมะหะ

– โอม พระพิฆเณศวร สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ ทุติยัมปิ พระพิฆเณศวร สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ ตะติยัมปิ พระพิฆเณศวร สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ (บทสวดของไทย)

– โอม นะโม พระคเณศายะ / นะโมนะมะ คันธะมาละ สิทธาหะนัง กะพะมะนะ / สัมมาอะระหัง วันทามิ (บทสวดของศิลปากร)

– โองการพินทุ นาถัง อุปปันนัง พรหมมะโน จะอินโท พิฆเณศวรโต มหาเทโว อะหัง วันทามิ สัพพะทา / สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิยัง ประสิทธิเมฯ (บทสวดของไทยและที่ปรากฏ ณ ศาลพระพิฆเนศ เซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์)

– มหาเทวะ มหาสลัม มหาวะศะการัม พระพิฆเณวา สะวะลัม พรหมมานัง วิญญานัง โอม ทูปัง ทีปัง / มะนะสะการัม บุปผัง ญะลา ผลังนิล (บทสวดของพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ)

– โอมปารวตี ปัตตเย ฮารา ฮารา ฮารา มหาเทวา คาชะนะนัม ภูตะคณาธิเสวะตัม / กะปิตะชัมพู ผะละจารุภักษะณัม อุมาสุตัม โศกะวินาศะ การะกัม / นะมามิ วิฆเนศวะระ ปาทะปังกะชัม (บทสวดดั้งเดิมของอินเดียโบราณ) ความหมาย : พระพิฆเนศทรงเป็นสิ่งสูงสุด ทรงมีเศียรเป็นช้าง ทรงมีสาวกมากมาย พระองค์ทรงโปรดผลมะขวิดและผลหว้า (บางตำราว่าผลชมพู่) พระองค์ทรงเป็นบุตรแห่งพระแม่ปารวตี ทรงเป็นผู้ทำลายความทุกข์ยากและความเจ็บปวด ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการ เทพผู้ทรงมีพระบาทดั่งดอกบัว

– วักกระตุณดะ มหากายา สุริยาโกติ สมาปราภา / นิรวิกนัม คุรุเมเดวา สารวการ เยสุ สารวาดา (บทอัญเชิญพระพิฆเนศ นิยมสวดกันมาก โดยเฉพาะในขณะถวายเครื่องสังเวยบูชา) ความหมาย : ขอน้อมบูชามหาเทพ ผู้มีงวงอันโค้งยาว งดงามยิ่ง พระองค์มีพระวรกายอันแข็งแกร่ง บารมีของพระองค์ได้แผ่ออกดั่งแสงอาทิตย์เจิดจ้านับล้านดวง ขอพระพิฆเนศวรโปรดประทานความผาสุกและชี้นำข้าพเจ้าไปสู่สิ่งที่ดีงามด้วยเถิด

– โอม เอกทันตายะ วิดมาเฮ วักระตุณทายะ ดีมาฮี / ตันโน ดันติ ประโจตะยาต (บทสวดคเณศาคายตรี) ความหมาย : เราพร่ำสวดสรรเสริญแด่พระพิฆเนศผู้ยิ่งใหญ่ เราทำสมาธิเพื่อน้อมระลึกถึงท่าน ผู้ซึ่งมีงาข้างเดียว ขอพระองค์โปรดนำทางเราไปสู่สิ่งที่ดีงามด้วยเถิด

– โอม ตัด ปุรุษยา วิดมาเฮ วักระตุณทายะ ดีมาฮี / ตันโน ดันติ ประโจตะยาต (บทสวดพระพิฆเนศ จากคัมภีร์คณปติอุปนิษัท) ความหมาย : เราพร่ำสวดสรรเสริญแด่พระพิฆเนศผู้ยิ่งใหญ่ เราทำสมาธิเพื่อน้อมระลึกถึงท่าน ผู้ซึ่งมีงวงอันโค้งสวยงาม ขอพระองค์โปรดนำทางเราไปสู่สิ่งที่ดีงามด้วยเถิด

– โอม ตัต การาตายะ วิดมาเฮ ฮาสติ มุกขายะ ดีมาฮี / ตันโน ดันถิ ประโจตะยาต (บทสวดพระพิฆเนศ จากนารายณ์อุปนิษัท)

– โอม กัง กันนะปัตเย นะโมนะมะห์ ศรี สิทธิวินายัก นะโมนะมะห์ อัสตะ วินายัก นะโมนะมะห์ กันนะปติ บัปปา โมรายา (บทสวดบูชาองค์ สิทธิวินายัก พระพิฆเนศองค์สำคัญของโลกและบูชาเทวรูป อัสตะวินายักกา พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ 8 แห่ง ณ ประเทศอินเดีย)

– โอม ศรี คเณศายะ นมัช โอม นมัส ศรี อาทยา / เวทา ประทิปาทยา ชยะ ชยะ สวะ-สัมเวทยา / อาธัม-รูปา (บทสวดโดยนักพรตและฤาษี)

– โอม ตัดสัต โอม มหาเดวา มหาณัม มหาวัสสกาลัม / มหาพิฆเนศวรา พรหมมานัง วิญญานัง / นมัสสามิ นะโม นะมะ

– โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา หริโอม ศรีคณปตเย นะมะฮา สิทธิสวาหะ หริโอม ศรีคณปตเย นะมะฮา โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา

– โอม ศรีม ฮรีม กลัม / คเณศวรายะ พรหมรูปายะ จารเว / สรวะ สิทธิ ปรเทศายะ วิฆเนศายะ นะโม นะมะฮา

– โอม ศรีม กัม สุภัคยะ กันปัตเย วาร วารดะ สารวาจานัม เม วาษามะเน สวาหะ (ลักษมีคเณศมนตรา)

สวดเพื่อขอประทานความสำเร็จ

ในการค้าและการติดต่อเรื่องธุรกิจ – บทนี้สวดขอพรได้ทั้งพระแม่ลักษมีและพระพิฆเนศ

– โอม ศรีม ฮรีม กรีม กลัม กันปัตเย สารวะ การยะ สิทธิ คุรุ คุรุ สวาหะ (ศริประ คณปติ มนตรา)

– โอม กัม กลัม หะริทรา กันปัตเย วาร วารัดดะ สารวจัน รทายัม สตัมไภย สตัมไภย สวาหะ (หริทรา คณปติ มนตรา)

– โอม วักกระตุณทาย กันดาษไตร กรีม ฮรีม ศรี กัม คณปัตเย วาร วารัดดะ สารวาจัน เม วาษามะเน สวาหะ (ไตรโลคยา โมหัน คเณศ มนตรา)

– โอม นะมะหะ อุชชิสตะ คเณศายะ หัสติ / พิชะสิ ลิเขสวาหะ

4.2 บทสวดบูชาพระพิฆเนศแบบโบราณ 17 บท

สามารถเลือกบทใดบทหนึ่ง หรือจะสวดบูชาทั้ง 17 บทเรียงต่อกันก็จะเป็นสิริมงคล

1. โอม สุมุ-ขายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีพระพักตร์งดงามดั่งดวงจันทร์

2. โอม เอกทันตะ ยะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีงาข้างเดียว

3. โอม กาปิ ลายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีผิวกายสีแดง

4. โอม คัชกรัณ กายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีรูปร่างเป็นช้าง

5. โอม ลัมโพ ทะรายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีท้องอันใหญ่โต

6. โอม วิกฏายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงประทานความผาสุก

7. โอม วิฆนะ รายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงเป็นเทพเจ้าแห่งอุปสรรคทั้งปวง

8. โอม วินายะ กายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงเป็นเทพเจ้าสูงสุด

9. โอม ธูมระ เกตะเว นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีกายดั่งเปลวไฟร้อนแรง 10. โอม คณาธยักษากะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงเป็นเจ้าแห่งคณะบริวารแห่งพระศิวะเทพ

11. โอม ภาละ จันทรายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีพระจันทร์เสี้ยวเป็นมงกุฎ

12. โอม คชานะ นายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีพระพักตร์เป็นช้าง

13. โอม วักระ ตุณ ดายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีงวงอันใหญ่โค้ง

14. โอม ศุรปะ กรณายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีใบหูอันกว้างใหญ่

15. โอม เหรัมภายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงอำนาจสูงสุด

16. โอม สกันทะ ปูรวชายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงเป็นน้องชายพระขัณฑกุมาร

17. โอม มหาคณะปัตเย นมัช ขอน้อมบูชาต่อพระพิฆเนศผู้ยิ่งใหญ่

4.3 บทสวดขอพรพระพิฆเนศ 8 บท

(สวดพร้อมคำขอพรภาษาไทย)

โอม พูตายะ นะมะหะ ขอพระพิฆเนศวรโปรดประทานความบริสุทธิ์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

โอม ภัคตะวิฆนะ วินาศิเน นะมะหะ ขอพระพิฆเนศวรโปรดทำลายความทุกข์ร้อนแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

โอม วิฆะณะราชายะ นะมะฮหะ ขอพระพิฆเนศวรโปรดขจัดอุปสรรคทั้งปวงอันจะเกิดแก่ชีวิตของข้าพเจ้าด้วยเถิด

โอม ศุธิปริยายะ นะมะหะ ขอพระพิฆเนศวรโปรดประทานสติปัญญาในการประกอบอาชีพแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

โอม ศริษายะ นะมะหะ ขอพระพิฆเนศวรโปรดประทานทรัพย์สมบัติและความอุดมสมบูรณ์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

โอม สธิรายะ นะมะหะ ขอพระพิฆเนศวรโปรดประทานความมั่นคงแก่ชีวิตข้าพเจ้าด้วยเถิด

โอม สมาหิตายะ นะมะหะ ขอพระพิฆเนศวรโปรดประทานสุขภาพพลานามัยที่ดีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

โอม สมุยายะ นะมะหะ ขอพระพิฆเนศวรโปรดประทานความสงบสุขแก่ชีวิตข้าพเจ้าด้วยเถิด

4.4 บทแผ่เมตตา

สามารถเลือกมาสวดเป็นบทต่อท้ายเมื่อเสร็จสิ้นพิธีการบูชา (บทสวดเหล่านี้ใช้ได้กับเทพทุกพระองค์)

โอม การายะ มนตรา (บทสวดเครื่องหมายโอม) โอม การัม พินทุสัมยุกตัม นิตยัม ทะยายันติ โยคินา กามะทัม โมกะษะทัม ไจวะ โอม การายะ นะโม นะมะ

ความหมาย :

อักขระโอม อันศักดิ์สิทธิ์ ย่อมปรากฏพร้อมเครื่องหมายพินทุ อันจะนำมาซึ่งความสำเร็จดั่งใจปรารถนาทุกประการ ชี้นำเหล่าโยคีไปสู่โมกขธรรมอันสูงสุดและช่วยทำลายพันธนาการทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอน้อมสักการะแด่เครื่องหมายโอมอันศักดิ์สิทธิ์นี้

– คายตรี มนตรา (บทสวดแด่องค์พระแม่คายตรี พระพรหม และสุริยเทพ) โอม บูร์ บูวาส สวาฮา ตัธ สาวิธูเร วาเรนยัม บฮาร โก เดวาสยา ดีมาฮี ดิโย โยนาฮา ปราโจดะยาธ

ความหมาย :

โอม ขอนอบน้อมแด่เทพผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง พระองค์ทรงประทานความสว่างสดใสไปทุกหนแห่ง พระองค์ทรงประทานปัญญาและเป็นผู้ขจัดบาปแก่สรรพชีวิต ขอประทีปแห่งพระองค์จงส่องสว่างไปชั่วกาลนานด้วยเทอญ

– ศานติ มนตรา (บทแผ่เมตตาของศาสนาพราหมณ์) ทุกสรรพชีวิตในโลกนี้ ทั้งมนุษย์ สัตว์ และพืช ต่างถือกำเนิดมาจากน้ำมือของพระผู้เป็นเจ้า (พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ พระกฤษณะ ฯลฯ) การมอบความเมตตาและสื่อสันติภาพไปยังสรรพชีวิตทั้งหลาย ถือเป็นการให้เกียรติสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นมา

ศานติมนตรา

คือคำแผ่เมตตาของศาสนาพราหมณ์ เมื่อสวดมนต์และขอพรแล้ว ควรสวดศานติมนตราพร้อมคำแปล เพื่อแสดงความบริสุทธิ์และความห่วงใยไปยังทุก ๆ สรรพชีวิตบนโลกนี้

โอม ศานติ อันตะริกษัม ศานติ ปฤถิวี ศานติ อาปาศะ ศานติ โอสะธะยะษะ ศานติ วนัสสะปัตตะยะษะ ศานติ วิศศะเวเทวะ ศานติ พรหมมะ ศานติ สะระวะ ศานติ ศานติ เรวะ ศานติ โอม ศานติ ศานติ ศานติฮีฯ

ความหมาย :

ขอความสงบจงเกิดแก่ผืนดิน ขอความสงบจงเกิดแก่ผืนน้ำ ขอความสงบจงเกิดแก่พืชพรรณ ขอความสงบจงเกิดแก่สรรพชีวิต ขอความสงบจงเกิดแก่พรหม ขอความสงบจงเกิดแก่เหล่าเทวะ ขอความสงบจงเกิดแก่ทุก ๆ สิ่ง ขอจงมีแต่ความสงบ ความสงบ และความสงบเท่านั้น

(ศานติมนตรานี้ สามารถกล่าวอย่างสั้น ๆ ได้ว่า โอม ศานติ..ศานติ..ศานติ อันหมายถึง ขอความสงบสุขจงบังเกิด)


สารพัดนึก
สารพัดนึก

5. คาถาบูชาพระราหู เพื่อเสริมดวงชะตา

เทพราหูเป็นเทพองค์หนึ่ง ซึ่งสามารถบันดาลประโยชน์และโทษให้เกิดขึ้นกับบุคคลหรือสิ่งต่าง ๆ ได้ ดังนั้น การบูชาเพื่อให้โชคร้ายอันอาจจะเกิดขึ้นบรรเทาลง หรือแปรเปลี่ยนเป็นสิ่งดีงาม และเชื่อกันว่าจะช่วยป้องกันภัยต่าง ๆ เมื่อยามดวงชะตาตก นอกจากนี้การบูชาพระราหูจะนำความสำเร็จและโชคลาภอย่างที่สุด

ตั้งนะโม 3 จบ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ อิติปิโสภะคะวา พระราหูสะเทวา สัมมาวิญญานะ อิติปิโสภะคะวา พุทธะสังมิ ฯ (สวด 12 จบ หันหน้าทิศตะวันตกเฉียงเหนือ)

พระคาถาสุริยันบัพพา

กุสเสโตมะมะ กุสเสโตโต ลาลามะมะ  โตลาโม โทลาโมมะมะ โทลาโมมะมะ  โทลาโมตัง เหกุติมะมะ เหกุติ 

พระคาถาจันทบัพพา

ยัตถะตังมะมะ ตังถะยะ ตะวะตัง มะมะตัง วะติตัง เสกามะมะ กาเสกัง กาติยังมะมะ ยะติกา

คำถวายเครื่องบูชาพระราหู

นะโมเม พระราหูเทวานัง ธูปะทีปะ จะปุปผัง สักการะวันทะนัง สูปะพะยัญชะนะ สัมปันนัง โภชะนานัง สาลีนัง สะปะริวารัง อุทะกังวะรัง อาคัจฉันตุ ปะริภุญชันตุ สัพพะทา หิตายะ สุขายะ พระราหูเทวา มะหิทธิกา เตปิ อัมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะจะฯ

ข้าแต่พระราหู เทพแห่งโชคลาภอันศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ข้าพเจ้า………………. ขอบูชาท่านด้วยของดำ 8 อย่าง ขอให้ข้าฯ ปราศจากภัยอันตรายทั้งปวง ขอพระราหู ประทานพรโชคลาภ ความร่ำรวย ทั้งหลายทั้งปวง ให้แก่ข้าฯ ด้วยเทอญฯ

ของดำ 8 อย่าง

1. ไก่ดำ (ต้มสุกทั้งตัว) ความหมาย คือ คุ้ยเขี่ย ค้าขายดี 2. เหล้า (เซี่ยงชุน) ความหมาย ความกล้าเสี่ยงหรือการลงทุนที่ดี 3. กาแฟดำ ความหมาย คิดอะไรก็จะสมหวัง 4. เฉาก๊วย ความหมาย ความใจเย็นและมีความคิดรอบคอบ 5. ถั่วดำ (ต้มสุก) ความหมาย ความเจริญรุ่งเรือง งอกงาม 6. ข้าวเหนียวดำ ความหมาย ความเหนียวแน่น ในเรื่องการเงิน และความรักในครอบครัว 7. ขนมเปียกปูน ความหมาย การปูนบำเหน็จรางวัล และความสำเร็จในหน้าที่การงาน 8. ไข่ต้มสีดำ (เยี่ยวม้า) ความหมาย การวิ่งเต้นหรือการติดต่อให้ได้รับความสำเร็จ หมายเหตุ : ใช้ธูปดำ 12 ดอก เทียนดำ 2 เล่ม ดอกกล้วยไม้สีม่วงใส่แจกัน 1 คู่ หรือถวายบายศรี 1 คู่ วันไหว้ : วันพุธหรือวันเสาร์ เป็นเวลากลางคืนยิ่งดี ห้ามวันอาทิตย์และวันจันทร์ (ท่านที่หาของตามนี้ไม่ได้ ก็เปลี่ยนเป็นของดำอย่างอื่น เช่น องุ่นดำ งาดำ น้ำอัดลมสีดำ ก็ได้ ทั้งนี้ ของดำทั้ง 8 อย่างต้องให้สุกทั้งหมด (หมายถึงพร้อมรับประทาน หรือดื่มได้))

เมื่อเสร็จพิธีแล้วควรลาและทานของไหว้อย่างละนิดเพื่อความเป็นสิริมงคลและสามารถเก็บไว้กินต่อวันหลังได้

***สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการไหว้ราหูนั้นคือ เพื่อเป็นการเตือนสติให้กับตัวเองว่าหลังจากนี้ไปเป็นเวลา 18 เดือน จะคิดจะตัดสินใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด ๆ ก็ตาม ควรใช้สติ ใช้ปัญญา เพื่อให้เกิดทางสว่างในใจ และดาวราหูก็จะส่งผลให้ชีวิตของเรามีความสว่างและความสำเร็จในทุก ๆ เรื่องอย่างแน่นอน***


สารพัดนึก
สารพัดนึก

6. คาถาบูชาหลวงปู่ทวด

เหยียบน้ำทะเลจืด วัดช้างให้ ตำบลป่าไร่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จะคุ้มครองให้เราแคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายต่าง ๆ หากอาราธนาพระเครื่องหลวงปู่ทวด ท่านจะคอยปกป้องภัยอันตราย คาถา-อาคม พระคาถาต่าง ๆ หรือสามารถท่องในใจเสมอ โดยไม่ต้องมีพระเครื่องท่านก็ได้

ให้บูชาท่านด้วย ธูปแขก 9 ดอก มะลิขาว 9 ดอก

ตั้งนะโม 3 จบ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา (3 จบ) แล้วระลึกถึงท่าน


สารพัดนึก
สารพัดนึก

7. คาถาบูชานางกวัก

การบูชาแม่นางกวักเป็นประจำ จะทำมาค้าขายดี แม่นางกวักจะมีพุทธคุณเด่นด้านเมตตา มหานิยม ค้าขาย โชคลาภ ใครเห็นใครรัก

ตั้งนะโม 3 จบ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

โอมปู่เจ้าเขาเขียว

มีลูกสาวคนเดียว ชื่อว่าแม่นางกวัก หญิงเห็นหญิงรัก ชายเห็นชายรัก อยู่ทุกถ้วนหน้า

เอหิมามะมะ อาคัจเฉยยะ อาคัจฉาหิ เอหิมามะมะ

จะค้าขายก็ขอให้เป็นเศรษฐี หนึ่งปีให้เป็นพ่อค้าสำเภาทอง จะค้าเงินขอให้เงินเข้ามากอง จะค้าทองขอให้ไหลมาเทมาเต็มบ้านเต็มเรือน จะค้าขายสิ่งหนึ่งประการใด ขอให้ซื้อง่ายขายคล่อง ขอให้ซื้อง่ายขายดี ขอให้เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี

อาคัจเฉยยะ อาคัจฉาหิ เอหิมามะมะ นะมะอะอุ นะชาลีติ อิกะวิติ พุทธะสังมิ ทุสะมะนิ อิธะคะมะ จะพะกะสะ นาสังสิโม สุมะโมโล นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ นะเมตตา โมขายดี พุทธไม่ต่อ ธาซื้อดี ยะใจดี มิใจอ่อน รักพุทโธ ปฏิรูปัง สัมปะฏิจฉามิ เพี้ยง สิทธิโภคา สิทธิพะลา สิทธิจะมหาเดชา นะชาลีติ เอหิจงมา พุทธะสังมิ นิมา มะมามา

มาช่วยกันค้า

มาช่วยกันขาย กวักเอาเงินมา กวักเอาทองมา กวักเอาโชคลาภ แก้วแหวนเงินทองข้าวของ หน้าที่การงาน ผู้คน ชื่อเสียงเกียรติยศ ข้าทาสหญิงชายมา มาด้วยนะโมพุทธายะ ปฏิรูปัง สัมปะฏิจฉามิ เพี้ยง พุทธังขอให้เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี ธัมมังขอให้เป็นเศรษฐี

มหาเศรษฐี สังฆังขอให้เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี เตชะสุเนมะภูจะนาวิเวอิติ นะเยปะรังยุตเต

ขอจงนำเอาโชคลาภ แก้วแหวนเงินทองข้าวของ มาสู่ในสถานที่นี้ด้วยเทอญ

พุทธังรักษา ธัมมังรักษา สังฆังรักษา พุทธังคุ้ม ธัมมังคุ้ม สังฆังคุ้ม เอหิพุทธานุภาเวนะ เอหิธัมมานุภาเวนะ เอหิสังฆานุภาเวนะ อายุ วรรโณ สุขัง พลัง

หมายเหตุ:

ตามตำราโบราณว่ากันว่า นางกวักเป็นบุตรีของปู่เจ้าเขาเขียวหรือท้าวพนัสบดี ซึ่งเป็นเจ้าชั้นจาตุมหาราชิกา คือสวรรค์ชั้นที่หนึ่งมีตำแหน่งเป็นพระพนัสบดี คือเจ้าแห่งป่าเขาลำเนาไพรทั้งปวง ครั้งนั้นมีอสูรตนหนึ่งชื่อ ท้าวกกขนาก ซึ่งเป็นเพื่อนกับ ปู่เจ้าเขาเขียว ถูกพระรามเอาต้นกกแผลงไปถูกทรวงอก แล้วตรึงร่างไปติดเขาพระสุเมรุแล้วสาปว่าตราบใดที่บุตรของท้าวกกขนากทอใยบัวเป็นจีวรเพื่อถวายแด่พระศรีอาริยเมตไตรยที่จะเสด็จมาตรัสรู้แล้วจึงจะพ้นคำสาป

ดังนั้น นางประจันต์ บุตรสาวของท้าวกกขนาก จึงต้องคอยอยู่ปฏิบัติบิดาและพยายามทอจีวรด้วยใยบัวเพื่อให้เสร็จทันถวายพระศรีอาริยเมตไตรยที่จะเสด็จมาตรัสรู้ในอนาคต เมื่อบุตรสาวของท้าวกกขนากมาคอยดูแลพระบิดาที่เขาพระสุเมรุนั้น ทำให้ฐานะความเป็นอยู่ของนางลำบากยิ่งนัก ฝ่ายปู่เจ้าเขาเขียวเมื่อทราบเรื่องจึงได้เกิดความสงสาร ก็เลยส่งนางกวัก บุตรสาว มาอยู่เป็นเพื่อน ด้วยบุญญฤทธิ์ของนางกวักจึงได้บันดาลให้พ่อค้าวานิชและผู้คนเกิดความสงสารเมตตา พากันเอาทรัพย์สินเงินทองทั้งเครื่องอุปโภคบริโภคมาให้ยังที่พักของนางประจันต์เป็นจำนวนมาก ทำให้ความเป็นอยู่ของนางประจันต์มีความสมบูรณ์พูนสุขและเจริญด้วยลาภทั้งปวง

สารพัดนึก
สารพัดนึก

สารพัดนึก
สารพัดนึก

8. คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ

(ท้าวกุเวร) ท้าวเวสสุวรรณ เป็นอธิบดีแห่งอสูรหรือยักษ์ และเป็นเทพแห่งขุมทรัพย์ มหาเทพแห่งความร่ำรวย มั่งคั่ง รักษาสมบัติของเทวโลก หากผู้ใดบูชารูปท้าวเวสสุวรรณ จะประสบความเจริญในลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง และอำนาจวาสนา

อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด

จุดธูป 9 ดอก

ตั้งนะโม 3 จบ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

พุทธังอาราธนานัง  ธัมมังอาราธนานัง  สังฆังอาราธนานัง คุณบิดามารดาอาราธนานัง  คุณครูบาอาจารย์อาราธนานัง

คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร

อิติปิโสภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ มรณังสุขัง อะหังสุคะโต นะโมพุทธายะ ท้าวเวสสุวรรณโณ จตุมหาราชิกา ยักขะพันตา ภัทภูริโต เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโมพุทธายะ


สารพัดนึก
สารพัดนึก

9. คาถาสาริกาลิ้นทอง

มีพุทธคุณทางด้านเมตตา มหาเสน่ห์ ลงได้ทั้งวัตถุมงคลและเครื่องราง พูดจาเป็นมหาเสน่ห์ ให้คนรักใคร่ เจรจาค้าขายดีเยี่ยม หากเราปรับตัวเองทางด้านการแต่งตัว การพูดจา ให้สุภาพเหมาะสมตามโอกาสต่าง ๆ เมื่อใช้พระคาถาก็จะช่วยเสริมให้เราดีและเด่นขึ้นได้

ตั้งนะโม 3 จบ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

ภาวนา พระคาถาสาริกาลิ้นทอง ดังนี้

พุทธา อะเนนา มะลิยา สุสังคะเยมิ พุทธา อิริมะลิยา สุสังคะเยมิ พุทธา อิรปะโย เคมะคุณนะ ปักเขสะเมมะมิ อุนาโลมา ปันนะ วิชายะเต หมายเหตุ : หากมีวัตถุมงคลหรือเครื่องราง ตอนท่องถึงคำว่า มิ ก็ให้แตะที่ลิ้นด้วยทุกครั้ง


สารพัดนึก
สารพัดนึก

สารพัดนึก

10. คาถาบูชากุมารทอง

การบูชากุมารทองมีคุณประโยชน์มากมาย ได้แก่ ใช้ให้เฝ้าบ้านในเวลาเจ้าของบ้านไม่อยู่ เพื่อป้องกันเหตุร้ายและขโมย, ให้กุมารทองติดตามไปช่วยเหลือในกิจการต่าง ๆ ของเจ้าของ, สืบข่าวเรื่องราวระยะไกล ๆ, ส่งข่าวโดยการกระซิบบอกให้รู้, ให้เข้าฝัน บอกโชคเคราะห์ปัจจุบัน และป้องกันต่อสู้ศัตรูที่คอยจะทำร้าย

ตั้งนะโม 3 จบ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

ท่องคาถาบูชากุมารทองว่า

กุมาโรมามะมะ เอหิ จิตตัง ปิยัง มะมะ (7 จบ) จากนั้นอธิษฐานบอกกุมารทองว่าอยากให้ช่วยอะไรก็บอกไป ให้ใช้น้ำแดงและน้ำเขียวเซ่นไหว้ จุดธูปบูชา 3 ดอก (หมั่นพูดเล่น หยอกล้อกับกุมารทองบ่อย ๆ เมื่อบนได้ผลแล้วต้องรีบแก้บนเร็ว ๆ ด้วย)

หมายเหตุ:วิธีเลี้ยงกุมารทอง ก็คล้ายกับการเลี้ยงเด็กเล็ก เหมือนเป็นการเลี้ยงลูกคนหนึ่งเลยทีเดียว พูดง่าย ๆ คือ เลี้ยงด้วยการ เซ่นไหว้ ให้กินผลไม้ ให้กินน้ำแดง กินขนม ทำอะไรให้คอยบอกกุมารทองตลอดเขาจะคอยช่วยเหลือเรา การใช้งานส่วนใหญ่จะมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ช่วยเหลือด้านค้าขายบ้าง เฝ้าของ เฝ้าบ้าน เป็นหลัก ดลบันดาลให้ถูกหวย เป็นเรื่องรองลงมา เช่น ให้เฝ้าบ้านเฝ้าสิ่งของต่าง ๆ แม้เจ้าของบ้านไม่อยู่ ก็ทำให้เหมือนกับว่ามีคนอยู่ในบ้านหลังนั้น จะมีเสียงเด็กวิ่งเล่น หรือบางทีอาจจะเจอในลักษณะอื่น ๆ ก็ได้ แต่กุมารทองทำอย่างนี้ไม่ได้ทุกตัว บางตัวแปลงกายได้ บางตัวแปลงไม่ได้ แล้วแต่จิตมากหรือจิตน้อย

การเลี้ยงกุมารทองช่วยเรื่องการค้าขาย กุมารทองจะช่วยโดยจะไปดึงตัวบ้าง ฉุดมือบ้าง กระชากบ้าง แต่เจ้าตัวไม่รู้ตัว จะเหมือนเดินเข้าไปธรรมดา ไปดลใจบ้างหรือไปกระซิบข้างหู ซึ่งคนที่ถูกกระซิบก็จะไม่ได้ยิน แต่จะเกิดความรู้สึกอยากไปซื้อของร้านนั้น จริง ๆ แล้วเรื่องการขายของดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับบุญเก่าของเจ้าของที่สร้างทานมาพอดีกับจังหวะที่บุญส่งผลเป็นหลัก ซึ่งถ้าทานส่งผลช่วงนั้นจะทำอะไรก็ดีทั้งนั้น ส่วนกุมารทองเป็นเพียงส่วนเสริมนิดหน่อยเท่านั้น ไม่อย่างนั้นก็รวยทุกวัน บอกให้ช่วยขายที่ให้ได้ ขายนั่นให้ได้นะ ซื้อมาขายไป จะช่วยได้เฉพาะบางครั้งเท่านั้น

การเลี้ยงกุมารทองที่เลี้ยงไว้เฝ้าบ้านนั้นก็เหมือนกัน อย่าลืมว่าบุพกรรมที่ทำมาเป็นแต่ก่อนเป็นหลัก แต่กุมารทองเป็นส่วนเสริมนิดหน่อย ขนาดบางทีกุมารทองเฝ้าบ้าน ขโมยยังขึ้นบ้านได้ แสดงว่าคนนั้นมีวิบากกรรมเคยไปลักขโมยของคนอื่น เพราะเป็นวิบากกรรมที่ติดมากับตัว เมื่อถึงเวลาส่งผลอะไรก็กันไม่อยู่

สารพัดนึก
สารพัดนึก

สารพัดนึก
สารพัดนึก

11. คาถาป้องกันตัว

ปัญจะมัง สิระสังชาตัง นะกาโร โหติ สัมภะโว พินธุ ทัณฑะ เภทะ อังกุ สิริ นะโมพุทธายะ (ใช้ท่องภาวนาเป่าใส่มือ แล้วตบมือดัง ๆ จะทำให้ปลอดภัยจากอันตรายไม่ว่าคนหรือสัตว์)



留言


bottom of page