top of page

วันพืชมงคล พระโคเสี่ยงทายปีนี้คือ น้ำ-หญ้า-ถั่ว-เหล้า

วันพืชมงคล พระโคเสี่ยงทายกิน “น้ำ-หญ้า-ถั่ว-เหล้า”

วันพืชมงคล

วันพืชมงคล พระโคเสี่ยงทายปีนี้คือ น้ำ-หญ้า-ถั่ว-เหล้า

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2565 พระยาแรกนาหยิบผ้าได้ 4 คืบ ส่วนพระโคกิน “น้ำ-หญ้า-ถั่ว-เหล้า” พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์ การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง

เมื่อวันที่ 13 พ.ค.65 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ไปยังมณฑลพิธีท้องสนามหลวง ในการพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พุทธศักราช 2565 มีนายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่พระยาแรกนา ได้ยาตราพร้อมเทพีออกจากโรงพิธีพราหมณ์

ทั้งนี้ผลการเสี่ยงทายในการพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พุทธศักราช 2565 ผลการเสี่ยงทายผ้านุ่ง มีผ้า 6 คืบ 5 คืบ และ 4 คืบ โดยพระยาแรกนาตั้งสัตยาธิษฐานหยิบผ้านุ่งแต่งกายได้ผ้า 4 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะมากสักหน่อย นาในที่ดอนจะได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ลุ่มอาจจะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่

ส่วนผลการเสี่ยงทายของกิน 7 สิ่งที่ตั้งเลี้ยงพระโค ประกอบด้วย ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่วเขียว งา เหล้า น้ำ และหญ้า โดยในปีนี้ พระโคกินน้ำ และ หญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์ พระโคกินถั่ว พยากรณ์ว่า ผลาหาร ภักษาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี และพระโคกินเหล้า พยากรณ์ว่า การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง

วันพืชมงคล ทั้งนี้ภายหลังเสร็จสิ้นพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ มีเกษตรกร และประชาชนเข้าไปเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวที่พระยาแรกนาหว่านไว้ เพื่อนำกลับไปหว่านในที่นาของตนเอง และเพื่อความเป็นสิริมงคล

**************************************

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขอพรศาลเจ้าพ่อเสือ ความเชื่อ พร้อมวิธีขอพร

ศาลเจ้าพ่อเสือ เป็นศาลเจ้าตามความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายจีน ในประเทศไทยมีศาลเจ้าพ่อเสืออยู่ในหลายจังหวัด ศาลเจ้าพ่อเสือในกรุงเทพฯ ที่ผู้ศรัทธานิยมเดินทางไปขอพรกันมากที่สุดอยู่ที่ เสาชิงช้า

ความเชื่อศาลเจ้าพ่อเสือ

ผู้ที่ศรัทธาและเคารพนับถือเจ้าพ่อเสือ มักจะไปขอพรเรื่องงาน ขอลูก แก้ชง และเมื่อได้สิ่งที่ต้องการแล้วก็ต้องกลับมาแก้บน ศาลเจ้าพ่อเสือมักออกแบบสถาปัตยกรรมตามศาลเจ้าทางภาคใต้ของประเทศจีน เทพเจ้าประจำศาล คือ เจ้าพ่อเสือ (เสียนเทียนซั่งตี้) นอกจากนี้ยังประดิษฐานรูปเคารพเทพเจ้ากวนอู และเจ้าแม่ทับทิม

ศาลเจ้าพ่อเสือ มีที่ไหนบ้าง

  1. ศาลเจ้าพ่อเสือ เสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร

ศาลเจ้าพ่อเสือ เสาชิงช้า มีอีกชื่อเรียกว่า ศาลเจ้าพ่อเสือพระนคร ตั้งอยู่ที่ถนนตะนาว แต่เดิมอยู่ที่ถนนบำรุงเมือง มีประวัติความเป็นมาว่าสร้างตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดให้ขยายถนนบำรุงเมือง ก็ย้ายศาลเจ้าพ่อเสือมาที่ทางสามแพร่ง ถนนตะนาวนี้ด้วย

  1. ศาลเจ้าพ่อเสือ บางหว้า กรุงเทพมหานคร

ขุนด่านเจ้าพ่อเสือ มีหลายชื่อเรียก อาทิ ศาลเจ้าพ่อเสือบางหว้า หรือ ศาลเจ้าพ่อเสือ ภาษีเจริญ ตั้งอยู่บริเวณถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ จากเดิมเป็นศาลเล็กๆ ตั้งอยู่ริมถนนในยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรี และเมื่อขยายถนนใหญ่ขึ้น ศาลเพียงตานี้ถูกกลบ มีชาวบ้านฝันเห็นนักรบมาบอกให้ขุดศาลขึ้นมา และมีชาวบ้านลือว่าฝันเห็นเสือโคร่งตัวใหญ่วนเวียนอยู่บริเวณนั้น เทพเจ้าประจำศาลคือ เจ้าพ่อเสือ “ตั่วเหล่าเอี๊ย” เช่นเดียวกับศาลเจ้าพ่อเสือเสาชิงช้า งานประจำปีของศาล จัดช่วงเดือนต้นเดือนมีนาคมทุกปี วิธีไหว้ศาลเจ้าพ่อเสือ บางหว้า บางคนขับรถผ่านก็บีบแตรให้สัญญาณความเคารพ และวิธีแก้บนศาลเจ้าพ่อเสือบางหว้า ผู้บนบานมักนำหนังมาฉาย ลานข้างศาลจึงมีพื้นที่สำหรับฉายหนังแก้บนโดยเฉพาะ

นอกจากนี้จังหวัดต่างๆ ที่มีชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีน ก็มักจัดตั้งศาลเจ้าพ่อเสือ อัญเชิญเทพเจ้า “เสียนเทียนซั่งตี้” หรือ “ตั่วเหล่าเอี๊ย” มาประทับเป็นองค์ประธานภายในศาลอีกด้วย

วิธีไหว้ศาลเจ้าพ่อเสือ

ขอพรศาลเจ้าพ่อเสือ

วิธีไหว้ศาลเจ้าพ่อเสือ สามารถเดินทางไปสักการะได้ในช่วงเวลาที่ศาลเจ้าเปิดให้บริการ โดยเตรียมของบูชาศาลเจ้าพ่อเสือมาเองก็ได้ ได้แก่

ของบูชาศาลเจ้าพ่อเสือ 1. ธูป 18 ดอก 2. เทียนแดง 1 คู่ 3. พวงมาลัย 1 พวง 4. เครื่องเซ่นไหว้ ได้แก่ หมูสามชั้น, ไข่สด และข้าวเหนียวหวาน

วิธีไหว้ศาลเจ้าพ่อเสือ 1. เดินตามลูกศรที่กำหนด 2. ปักธูป 3 ดอก ใน 6 กระถาง 3. ปักเทียน และวางเครื่องเซ่นไหว้ไว้ในบริเวณที่วางไว้ 4. ตั้งจิตอธิษฐาน ขอพรให้เจ้าพ่อเสือปกปักรักษา

ขอขอบคุณ บทความดีๆ : www.thairath.co.th, newtv.co.th

ดู 1 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page