top of page

วันเข้าพรรษา 2565 วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม

วันเข้าพรรษา 2565 วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา 2565 วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม

สำหรับ วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า “จำพรรษา” นั่นเอง โดย วันเข้าพรรษา 2565 ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม หรือ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งประวัติวันเข้าพรรษา ความสำคัญ กิจกรรม มีดังนี้

ประวัติวันเข้าพรรษา “เข้าพรรษา” แปลว่า “พักฝน” หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน โดยแบ่งเป็น

– ปุริมพรรษา หรือ วันเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี หรือถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 – ปัจฉิมพรรษา หรือ วันเข้าพรรษาหลัง เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 อย่างไรก็ตาม หากมีกิจธุระ คือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในวันเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า “สัตตาหะ” หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด สำหรับข้อยกเว้นให้ภิกษุจำพรรษาที่อื่นได้ โดยไม่ถือเป็นการขาดพรรษา เว้นแต่เกิน 7 วัน ได้แก่ 1. การไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย

2. การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้

3. การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด

4. หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขาได้

นอกจากนี้หากระหว่างเดินทางตรงกับวันหยุดเข้าพรรษาพอดี พระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า “วิหาร” แปลว่า ที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่าน ครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีก เพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า “อาราม” ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้

ทั้งนี้ โดยปกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฐบริขาร อันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในวันเข้าพรรษา นับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา…

อย่างไรก็ตาม แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของพระภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญรักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่น ๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ถวายเครื่องสักการบูชา ดอกไม้ ธูปเทียน และเครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น พร้อมฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตน โดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับอานิสงส์อย่างสูง

นอกจากนี้ยังมีประเพณีสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือ ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา ประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษา ซึ่งมีมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้มีอยู่เป็นประจำทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษา พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้า-เย็น และในการนี้จะต้องมีธูป-เทียนจุดบูชาด้วยพุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็นการกุศลทานอย่างหนึ่ง เพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่างจะมีอานิสงส์เพิ่มพูนปัญญา หูตาสว่างไสว

ตามชนบทนั้น การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้วก็จะมีการแห่แหนรอบพระอุโบสถ 3 รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา 3 เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่ง มีการแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงาม โดยถือว่าเป็นงานประจำปีเลยทีเดียว

กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา – ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา – ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่พระภิกษุสามเณร – ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล อธิษฐานงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ ขอบคุณข้อมูลจาก Kapook กระทรวงวัฒนธรรม เว็บไซต์ธรรมะไทย

*************************************************

บทความที่เกี่ยวข้อง

อธิษฐานอย่างไรให้เกิดปาฏิหารย์

อธิษฐานอย่างไรให้เกิดปาฏิหารย์

อธิษฐานอย่างไรให้เกิดปาฏิหารย์

การอธิษฐานจริงๆ แล้วไม่ใช่การ “ขอ” แต่อย่างใด

อธิษฐานอย่างไรให้เกิดปาฏิหารย์

องค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการอธิษฐานนั้นให้สัมฤทธิ์ผลมีอยู่ 5 ประการก็คือ

1.พลังจิตที่บริสุทธิ์สะอาด

เป็นบาทฐานกำลัง เราทราบกันดีแล้วว่าการจะทำให้จิตนั้นสะอาดผ่องใสได้ด้วยการสร้างบุญอันมาจากทาน ศีลและภาวนา ยิ่งทำบุญมากแบบถูกต้อง ถูกธรรมแล้ว จิตจะผ่องใสขึ้นอย่างแน่นอน

2.บุญบารมีที่ได้ทำมาไม่ว่าจะเป็นบุญเก่าและบุญใหม่เป็นตัวเชื่อม

การที่จะอธิษฐานให้ได้ผลนั้น อานุภาพแห่งบุญจะเป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้อธิษฐานและเป้าหมายที่ต้องการ ที่บุญนั้นจะต้องครบถ้วน หรือเหตุนั้นจะต้องครบสมบูรณ์ ดังการอธิษฐานของพระพุทธเจ้าซึ่งนำไปสู่การตรัสรู้ว่า

ในอดีตชาตินั้นของพระพุทธองค์ เคยถือกำเนิดเป็น สุเมธดาบส ครั้งหนึ่งมีประกาศจากทางการว่าพระทีปังกร (พระพุทธเจ้าลำดับที่ 4) จะเสด็จผ่านทางเพื่อทำการผ่านทางหนึ่งเพื่อโปรดแสดงธรรม เส้นทางที่เสด็จนั้นมีความยากลำบากมีอุปสรรคมากมายและยังเป็นทางเลนที่ยากจะเสด็จผ่านไปได้ ชาวบ้านนับพันต่างก็มาร่วมใจกันแผ้วถางทางอย่างรวดเร็ว

สุเมธดาบสซึ่งเป็นฤๅษีก็เหาะผ่านมายังทางที่กำลังแผ้วถางอย่างขะมักเขม้น ก็ลงมาสอบถามว่าคนทั้งหลายมาชุมนุมกัน ณ ที่แห่งนี้เพราะเหตุอันใดกัน เมื่อทราบว่าพระทีปังกรพุทธเจ้าจะเสด็จมาแสดงธรรมโดยผ่านเส้นทางนี้ สุเมธดาบสก็มีความยินดีที่จะช่วยทำทางให้เสร็จโดยเร็วเช่นกัน

แต่ในขณะที่สุเมธดาบสกำลังจะลงมือทำทางให้พระทีปังกรก็เสด็จผ่านมาถึงก่อนโดยเส้นทางที่จะทำเหลืออีกเพียง 1 ช่วงตัวคนเท่านั้น สุเมธดาบสจึงถอดผ้าคลุมของตนเองออกแล้วปูลาดลงไปที่พื้นและได้กราบนมัสการต่อพระทีปังกรพุทธเจ้า และนิมนต์ให้พระพุทธองค์และพระสาวกทั้งหมดกว่า 4 แสนรูปได้ย่างเท้าไปบนร่างกายของตนเองที่จะทำการทอดถวายเป็นสะพานแทน ด้วยจิตปรารถนาถึงสัมมาสัมโพธิญาณขอให้ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในกาลข้างหน้า

พระพุทธเจ้าทีปังกรได้รู้เจตนาและการบำเพ็ญบารมีจึงตรัสทำนายว่า สุเมธดาบสจะได้กลายเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งนามว่า “พระพุทธโคดม” ซึ่งก็คือพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันของเรานี่เอง หลังจากสุเมธดาบสได้สิ้นชีวิตแล้วก็ได้ไปวนเวียนเกิดอีกหลายภพชาติสั่งสมบุญบารมีมาอีกยาวนานจนในชาติสุดท้ายก็ได้บรรลุผลแห่งการอธิษฐานเมื่อครั้งอดีตสมความตั้งใจ

แต่การที่ พระพุทธองค์จะตรัสรู้ได้นั้นต้อสะสมบุญบารมีให้ โดยเฉพาะในทศชาติสุดท้ายได้กระทำบุญบำเพ็ญบารมีนานาประการจน

บุญบารมีทั้งหลายที่สั่งสมมาหลายภพหลายชาติรวมกับการบำเพ็ญทศชาติบารมีอย่างสูงสุดแล้ว เมื่อบุญส่งผลในเวลานั้นจึงทำให้พระพุทธองค์ประสบความสำเร็จในการตรัสรู้ ในการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ บุญบารมีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวเชื่อมให้คำอธิษฐานได้บรรลุผลและกลายเป็นความจริง

3. จุดประสงค์แห่งการอธิษฐาน

ที่ต้องเป็นสิ่งที่ดีที่งามเป็นสิ่งที่จะเอื้อประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นถูกต้องทางธรรมไม่ขัดแย้งกัน การอธิษฐานนั้นจึงจะมีความสัมฤทธิ์ผลได้ หรือจะเรียกว่าการอธิษฐานที่เต็มไปด้วยกิเลส ด้วยความเห็นแก่ได้อย่างนี้จะสำเร็จผลได้ยาก การอธิษฐานที่ปิดทางคนอื่น ไปพรากประโยชน์คนอื่นหรือด้วยต้องการให้คนอื่นฉิบหายนั้นไม่ใช่การอธิษฐานแต่เป็นการสาปแช่ง และไม่สมควรทำเป็นอย่างยิ่ง และไม่มีทางเกิดผลได้อย่างแน่นอน

4. อย่าอธิษฐานให้เกินบุญของตน

หลายคนอธิษฐานแล้วไม่ได้ผลเลย อาจจะอธิษฐานที่เกินบุญที่ตนเองมี เช่น อธิษฐานขอให้มีโชคลาภถูกหวยรางวัลที่ 1 ซึ่งบุญของตนนั้นไม่พอที่จะได้ลาภใหญ่แบบนั้น เพราะว่าเกิดมาไม่เคยทำทาน ไม่เคยให้อะไรผู้ใด เหมือนคนที่เงินอยู่ 10 บาทแต่อยากจะเปิดร้านค้าใหญ่โตซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ ถ้าอยากจะได้จริงต้องทำเหตุให้ตรงเสียก่อน รู้ว่าบุญไม่พอก็เร่งสร้างบุญเสียให้พอ เรื่องนี้อาจจะยากสำหรับคนบางคน เพราะคนกำลังเดือดร้อนมากมักจะอยากให้ได้อะไรเร็ว ขอให้อธิษฐานที่เป็นไปได้แล้วจะเป็นไปได้ค่อยๆ ขยับขึ้นตามบุญที่ทำมา

5. ต้องทำเหตุให้ตรงกับสิ่งที่อธิษฐานขอไว้ (เป้าหมาย)

หลายคนอธิษฐานแล้วไม่ได้ผลเลยแม้แต่น้อย อีกสาเหตุหนึ่งก็ขอเมื่อตั้งเป้าหมายแล้ว แต่ไม่ลงมือทำให้เหตุนั้นตรงกับเป้าหมายที่อยากจะได้ เช่น อธิษฐานขอให้ร่ำรวยเป็นเศรษฐี แต่ไม่เคยลุกขึ้นมาทำมาหากิน ไม่เคยลงมือทำงานอย่างเต็มที่ หรือลงมือทำแต่ก็ไม่เคยตั้งใจทำ แล้วจะรวยไปได้อย่างไร นอกจากว่าจะบุญเก่าสนับสนุนมากพอจริงๆ ถึงจะได้ ซึ่งก็นับว่ายากเต็มทีหากในปัจจุบันไม่เคยสร้างคุณงามความดีหรือทานบารมีใดๆไว้เลย

ยังมีอีกเคล็ดสำคัญคือ การอธิษฐานขอบุญกับจากครูบาอาจารย์ท่านผู้ทรงพระคุณความดี เป็นการเพิ่มบุญให้กับตัวเราเองโดยพื้นฐานสำคัญเราต้องมีบุญร่วมกับท่านซึ่งบุญเก่านั้นเราอาจจะไม่สามารถล่วงรู้ได้แต่เราสามารถทำได้โดยการเชื่อมบุญกับท่านด้วย

– ไปทำบุญกับท่าน ข้อนี้ง่ายถ้าเป็นครูบาอาจารย์ที่มีชีวิตอยู่เราสามารถทำกับท่านได้โดยตรง ทั้งการถวายกับตัวท่านเองหรือฝากคนอื่นไปถวายแทน แต่ถ้าท่านละสังขารไปแล้วให้อุทิศบุญถวายท่านเช่น หลวงปู่ทวด หลวงพ่อปาน หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ เป็นต้น ซึ่งเป็นการเชื่อมบุญกับท่าน

– ไปร่วมทำบุญกับท่าน เรื่องนี้ง่ายเพียงเราไปร่วมสร้างบุญกับท่าน มีพิธีบวช มีงานบุญอะไรก็ไปร่วมงานเพื่อโมทนาบุญในงานนั้น หรือเมื่อทราบข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ตหรือสื่ออื่นๆ ก็บริจาคเงินหรือสิ่งของไปให้ท่านทางธนาคารหรือไปรษณีย์ก็ได้

– อนุโมทนาในบุญที่ท่านทำ เมื่อเราเห็นหรือทราบข่าว่าท่านสร้างบุญกุศลเรา เราก็ร่วมยินดีในบุญที่ท่านทำ เพียงกล่าว ขออนุโมทนาบุญที่ท่านทำ เราก็ได้บุญแล้ว เพียงแต่อาจจะได้ไม่เท่าที่ท่านทำเพราะเราไม่ได้สร้างเอง อย่างไรก็ตามเพียงแค่มีจิตนึกยินดีในสิ่งที่ท่านได้ทำ เราพลอยยินดีไปด้วยบุญก็เกิดขึ้นแล้ว

ขอขอบคุณ ธ.ธรรมรักษ์

ดู 2 ครั้ง0 ความคิดเห็น

コメント


bottom of page