top of page

ศาลพระภูมิ — 6Trick หัวใจสำคัญที่ต้องรู้ ก่อนคิดตั้งศาลพระภูมิ

ศาลพระภูมิ — 6Trick หัวใจสำคัญที่ต้องรู้ ก่อนคิดตั้งศาลพระภูมิ

ศาลพระภูมิ

ศาลพระภูมิ

หลายบ้านตั้งศาลพระภูมิและสักการะบูชากันตามความเชื่อของพราหมณ์ฮินดูที่ว่า ศาลพระภูมิคือที่อยู่ของพระชัยมงคล เทพที่ปกปักรักษาคนในบ้านให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขและเจริญก้าวหน้ารุ่งเรือง แต่การตั้งศาลพระภูมิผิดมีผลบั่นทอนพลังของพระภูมิได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องเข้าใจในรายละเอียดอย่างถูกต้อง และที่นี่มีข้อมูลที่จะตอบคำถามว่า ตั้งศาลพระภูมิใช้อะไรบ้าง และตั้งศาลพระภูมิวันไหนดี

1. การเลือกศาลพระภูมิ

ลักษณะของศาลพระภูมิ คือ มีเสาเพียงต้นเดียว โดยไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวในการเลือกขนาด สี และความสูง ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจและงบประมาณของเจ้าของบ้าน ตามตำราแล้ว ระดับชานชาลาของศาลพระภูมิควรอยู่เหนือระดับปากของเจ้าของบ้าน แต่บางตำราก็ว่า ควรอยู่เหนือระดับคิ้วของเจ้าของบ้าน ส่วนสีนั้น ไม่ควรใช้สีฟ้า สีน้ำเงิน และสีดำ ซึ่งเป็นสีของธาตุน้ำที่ไม่ถูกกับศาลพระภูมิที่เป็นธาตุไฟ

ศาลพระภูมิถือเป็นความเชื่อหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลมาจากพิธีกรรมศาสนาในอดีตตามความเชื่อมของพราหมณ์ ฮินดู และแพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทย จนในปัจจุบันไม่ว่าจะบ้านเล็กบ้านใหญ่ก็จะมีการติดตั้งศาลพระภูมิหน้าบ้านไว้ให้เห็นกันอยู่ตลอด ซึ่งตามความเชื่อของชาวไทยนั้นเชื่อว่าการติดตั้งศาลพระภูมิถือเป็นการอัญเชิญเทวดาให้ลงมาประทับศาลเพื่อคอยปกปักรักษาบ้านและคนที่อยู่ในบ้าน

ดังนั้นตามความเชื่อที่กล่าวมาข้างต้น ศาลพระภูมิถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนไทยให้ความเคารพบูชา การที่จะติดตั้งศาลพระภูมิให้กับบ้านจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างที่คิด ไม่ใช่ว่าใครก็สามารถไปเลือกซื้อศาลพระภูมิแล้วนำมาติดตั้งได้เลย การเลือกศาลยังต้องเลือกลักษณะ เลือกสีให้เหมาะสมกับตัวบ้าน รวมไปถึงการติดตั้งจะต้องมีฤกษ์ยามพิธีกรรมต่างๆ

รูปแบบของศาลที่ดีทั่วไปก็จะประกอบไปด้วย เสาของศาลพระภูมิ จานรอง และตัวประสาทศาลของศาลพระภูมิ ทั้งนี้เองถึงแม้รูปแบบของศาลพระภูมิจะไม่ตายตัว แต่ก็ต้องดูศาลพระภูมิให้เป็นก่อน เพราะศาลพระภูมิจะมีเสาเพียงตนเดียว แต่ถ้าเป็นศาลเจ้าที่จะมี 4 เสา ส่วนศาลเทพจะมี 6 เสา ซึ่งหากต้องการศาลพระภูมิที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในประเทศไทยก็ให้เลือกศาลแบบเสาเดียวก็จะเหมาะสมที่สุด

2. องค์ประกอบของศาลพระภูมิ

การตั้งศาลพระภูมิต้องเตรียมอะไรบ้าง หัวใจสำคัญของการตั้งศาลพระภูมิ คือ องค์ประกอบของศาลพระภูมิ ซึ่งมีดังนี้

เจว็ดศาลพระภูมิ

เจว็ดศาลพระภูมิ คือ แผ่นไม้รูปร่างคล้ายใบเสมาหรือแกะสลักเป็นรูปเทวดาถือพระขรรค์ โดยเมื่อทำพิธีปลุกเสกแล้ว จะเรียกว่า พระภูมิ ซึ่งเป็นประธานของศาลพระภูมิ

บริวารของพระภูมิ

  1. ตุ๊กตาชาย-หญิง อย่างละ 1 คู่

  2. ตุ๊กตาช้างม้า อย่างละ 1 คู่

  3. ละครยก 2 โรง หรือละครรำ

เครื่องประดับตกแต่งศาลพระภูมิ

3. สถานที่ตั้งศาลพระภูมิ

  1. ตั้งศาลพระภูมิบนพื้นดิน โดยห้ามตั้งศาลบนพื้นเดียวกันกับตัวบ้าน แต่หากไม่มีบริเวณพื้นดินจริง ๆ ให้ตั้งศาลพระภูมิที่ชั้นดาดฟ้าได้

  2. ควรยกพื้นให้พื้นที่ตั้งศาลพระภูมิสูงขึ้นจากพื้นดินประมาณ 1 คืบ

  3. ตั้งศาลพระภูมิให้ห่างจากตัวบ้าน โดยไม่ให้เงาของตัวบ้านทอดลงมาทับศาลพระภูมิได้

  4. ห้ามหันหน้าศาลพระภูมิเข้าไปทางตัวบ้าน ห้องน้ำ และประตูของตัวบ้าน

  5. ให้มีระยะห่างจากที่ตั้งศาลพระภูมิกับกำแพงบ้านอย่างน้อย 1 เมตร


4. ทิศทางของศาลพระภูมิ

ตามความเชื่อโดยทั่วไป ศาลพระภูมิควรหันหน้าไปทางทิศดังนี้

  1. ทิศที่ดีเป็นอันดับ 1 คือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

  2. ทิศที่ดีเป็นอันดับ 2 คือ ทิศตะวันออก

  3. ทิศที่ดีเป็นอันดับ 3 คือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้

  4. ทิศต้องห้ามคือ ทิศตะวันตกและทิศใต้

หลังจากที่ได้ทิศทางแล้ว ต้องพูนดินบริเวณที่ตั้งศาลพระภูมิให้สูงจากพื้นประมาณ 1 คืบ จากนั้นให้ใช้มือเกลี่ยดินแล้วทุบให้แน่น ทั้งนี้ห้ามใช้เท้าโดยเด็ดขาด และเนื่องจากเป็นพื้นที่สำหรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงต้องขับไล่สิ่งชั่วร้ายก่อน โดยให้นำน้ำมนต์ธรณีสาร (น้ำที่พระสงฆ์ทำพิธีสวดพระพุทธมนต์โดยใส่ใบไม้ต้นธรณีสารลงในน้ำ) มาประพรมบริเวณที่ตั้งศาลพระภูมิ

5. การปักเสาตั้งศาลพระภูมิ

ก่อนวันทำพิธีตั้งศาลพระภูมิ จะต้องเตรียมหลุมสำหรับปักเสาศาลพระภูมิ โดยมีสิ่งของที่ต้องเตรียมในการปักเสา คือ พานครู 1 พาน สำหรับใส่ข้าว ธูป เทียนขาว ดอกไม้หรือพวงมาลัยสด เหล้า บุหรี่ ผ้าขาว เงิน 6 สลึงหรือ 99 บาท

นอกจากนี้ จะต้องใส่ของมงคลในหลุมเสาศาลพระภูมิด้วย โดยมีรายการดังนี้

  1. เหรียญเงินและเหรียญทองอย่างละ 9 เหรียญ

  2. ใบเงิน 9 ใบ

  3. ใบทอง 9 ใบ

  4. ใบนาค 9 ใบ

  5. ใบมะยม 9 ใบ

  6. ใบรัก 9 ใบ

  7. ใบนางกวัก 9 ใบ

  8. ใบนางคุ้ม 9 ใบ

  9. ใบกาหลง 9 ใบ

  10. ดอกบานไม่รู้โรย 9 ดอก

  11. ดอกพุทธรักษา 9 ดอก

  12. ไม้มงคล 9 ชนิด

  13. แผ่นเงิน ทอง และนาค 1 ชุด

  14. พลอยนพเก้า 1 ชุด

เช่นกัน ในการกลบหลุมเสาศาลพระภูมินั้น ต้องใช้มือกด ห้ามใช้เท้าโดยเด็ดขาด

6. ฤกษ์ยามในการทำพิธีตั้งศาลพระภูมิ

ฤกษ์ยามถือเป็นเรื่องซับซ้อนและละเอียดอ่อน เพราะแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ซึ่งทำให้วันเวลาที่เหมาะสมในการทำพิธีกรรมแตกต่างกันด้วย จึงขอแนะนำให้ปรึกษาพราหมณ์หรือโหรผู้มีความรู้เกี่ยวกับฤกษ์ยาม เพื่อดูวันเดือนปีเกิดของเจ้าบ้านและหาฤกษ์ที่เป็นสิริมงคลกับเจ้าบ้านโดยเฉพาะ แต่ทั้งนี้วันต้องห้ามโดยทั่วไปมีดังนี้

เมื่อทราบหลักสำคัญในข้างต้นว่าการตั้งศาลพระภูมิมีอะไรบ้างแล้ว ขั้นต่อไปก็คือ การประกอบพิธีกรรม ซึ่งผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้คือ พราหมณ์และผู้สืบทอดการทำพิธีจากพราหมณ์ และเมื่อตั้งศาลพระภูมิและทำพิธีบวงสรวงอย่างถูกต้องแล้ว เชื่อกันว่าจะช่วยส่งเสริมให้พระภูมิมีพลังในการดูแลคนในบ้านให้ประสบความสุขและความเจริญได้อย่างเต็มที่

ดู 6 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page