top of page

อานิสงส์การบรรพชา บวชพระ บวชเณร อานิสงส์แรงกล้า

อานิสงส์การบรรพชา บวชพระ บวชเณร อานิสงส์แรงกล้า

ต่อแต่นี้ไป จะนำเอาพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าด้วยเรื่อง

อานิสงส์การบรรพชา

มาคุยกับบรรดาท่านพุทธบริษัท ความมีว่า องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์เมื่อทรงพระชนม์อยู่ องค์สมเด็จพระบรมปรารถเรื่องการอุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนา องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสว่า การอุปสมบทบรรพชานี้มีอานิสงส์พิเศษ

อานิสงส์อย่างอื่น มีการสร้างวิหารทานก็ดี การถวายสังฆทานก็ดี ทอดกฐินผ้าป่าก็ดี จัดว่าเป็นอานิสงส์สำคัญ แต่อานิสงส์นี้นั้น บุคคลที่จะพึ่งได้ต้องโมทนาก่อน หมายความว่า ถ้าบุตรธิดาของตนบำเพ็ญกุศล บิดามารดาไม่โมทนาย่อมไม่ได้ แต่ว่าการอุปสมบมบรรพชานี้แปลกกว่านั้น องค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า

สมมุติว่า

บุตรชายของท่านผู้ใดออกจากครรภ์มารดาวันนั้น บิดามารดาก็จากกัน ลูกกับพ่อ ลูกกับแม่ย่อมไม่รู้จักกัน เวลาที่บรรพชานั้น บิดามารดาก็ไม่ทราบ แต่ทว่า ถึงอย่างก็ดี องค์สมเด็จพระชินศรีตรัสว่า บิดามารดาย่อมได้อานิสงส์โดยสมบูรณ์ นี่เป็นอันว่า อานิสงส์แห่งการการอุปสมบทบรรพชานี้แปลกจากบุญกุศลอย่างอื่น เป็นอันว่าขอพูดซ้ำอีกครั้งหนึ่งว่า บุญอย่างอื่นลูกทำไปแล้ว พ่อแม่ไม่โมทนาย่อมไม่ได้อานิสงส์นั้น แต่ว่าการอุปสมบทและบรรพชา บิดามารดาซึ่งคลอดบุตรมาแล้ว ต่างคนต่างจากกันไป พ่อแม่ไม่ทราบว่าบุตรมีรูปร่างหน้าตาเป็นประการใด เพราะจากกันไปตั้งแต่คลอดใหม่ๆ สำหรับลูกชายก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า บิดารมารดาเป็นใคร แต่ว่าอุปสมบรรพชาเมื่อไร บิดามารดาย่อมได้อานิสงส์สมบูรณ์ เหตุนี้การอุปสมบทบรรพชาจึงจัดว่า เป็นกุศลพิเศษ ที่องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ทรงบัญญัติไว้

ทีนี้จะว่ากันไปถึงอานิสงส์แห่งการอุปสมบท-บรรพชา คำว่า บรรพชา นี้หมายความว่า บวชเป็นเณร คำว่า อุปสมบท นี้หมายความว่า บวชเป็นพระ สำหรับท่านที่บรรพชาในพุทธศาสนาเป็นสามเณร อันนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ท่านผู้บรรพชาเองคือเณร ถ้าประพฤติปฏิบัติดี นี่เอากันถึงด้านการประพฤติปฏิบัติดี ถ้าปฏิบัติเลวการการบวชเณรก็ถือว่าเป็นการซื้อนรก ถ้าปฏิบัติดีนั้น องค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า ท่านที่บวชเข้ามาเป็นเณรในพุทธศาสนาแล้วปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามระบอบพระธรรมวินัย สำหรับเณรผู้นั้น ย่อมมีอานิสงส์คือ ถ้าตายจากความเป็นคน ถ้าจิตของตนมีกุศลธรรมดา ไม่สามารถจะทรงจิตเป็นฌาน องค์สมเด็จพระพิชิตมารตรัสว่า ท่านผู้นั้นจะเสวยความสุขบนสวรรค์ ได้ถึง ๓๐ กัป เช่นเดียวกัน

การนับกัปหนึ่ง…

คำว่ากัปหนึ่งนั้น มีปริมาณนับปีไม่ได้ องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงเปรียบเทียบไว้อย่างนี้ว่า มีภูเขาลูกหนึ่ง เป็นหินล้วนไม่มีดินเจือปน ถึงเวลา ๑๐๐ ปี เทวดาเอาผ้ามีเนื้ออ่อนเหมือนสำลีมาปัดยอดเขานั้นครั้งหนึ่ง ทำอย่างนี้ ๑๐๐ ปีปัด ๑ ครั้ง ๑๐๐ ปีปัด ๑ ครั้ง จนกระทั่งหินนั้นหมดไป หาหินไม่ได้ เหลือแต่ดินล้วน นั่นจึงจะมีอายุได้ครบ ๑ กัป และอีกประการหนึ่ง ท่านพรรณนาไว้ในพระวิสุทธิมรรคว่า มีอุปมาเหมือนกับว่ามีถังใหญ่ลูกหนึ่งมีความสูง ๑ โยชน์ กว้าง ๑ โยชน์ ยาว ๑ โยชน์เหมือนกัน มีคนเอาเมล็ดพันธุ์ผัดกาดมาใส่ในถังนั้นจนเต็ม ถึงเวลา 100 ปีก็เอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดนั้นออก ๑ เมล็ด ทำอย่างนี้จนกว่าเมล็ดพันธุ์ผัดกาดนั้นจะหมดไป เป็นการเปรียบเทียบกันได้กับระยะเวลา ๑ กัป นี่เป็นอันว่า กัปหนึ่งเราจะนับเวลาประมาณไม่ได้ เช่นกัปหนึ่งเราจะนับเวลาประมาณไม่ได้ เช่นกัปในปัจจุบันนี้สามารถจะทรงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ถึง ๑๐ พระองค์ เป็นระยะยาวนานมาก

องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่า ท่านที่บวชเป็นเณรเอง และมีความประพฤติปฏิบัติดี ต้องเป็นเทวดาหรือพรหมอยู่ถึง ๓๐ กัป นั่นก็หมายความว่า อายุเทวดาหรือพรหมย่อมีกำหนดไม่ถึง ๓๐ กัป และเมื่อหมดอายุแล้วจะเกิดเป็นพรหมใหม่ อยู่บนนั้นไปจนกว่าจะถึง ๓๐ กัป หรือมิฉะนั้นก็ต้องเข้านิพพานก่อน สำหรับ บิดามารดา ของบุคคลผู้บวชเป็น สามเณร ย่อมได้อานิสงส์คนละ ๑๕ กัป คือครึ่งหนึ่งของเณร หมายความว่าบิดารมีอานิสงส์ ๑๕ กัป มารดามีอานิสงส์เสวยความสุขบนสวรรค์หรือพรหมโลก ๑๕ กัป เช่นเดียวกัน เป็นอันว่า บรรพชากุลบุตรของตนไว้ในพระพุทธศาสนาเป็นสามเณรมีอานิสงส์อย่างนี้ #องค์สมเด็จพระมหามุนีตรัสต่อไปว่า

บุคคลผู้ใดมีวาสนาบารมีคือมีศรัทธาแก่กล้า ตั้งใจอุปสมบทในพุทธศาสนาเป็นพระสงฆ์ แต่ว่าเมื่อบวชแล้วก็ต้องปฏิบัติชอบ ประกอบไปด้วยคุณธรรม คือมีพระธรรมวินัยเป็นสำคัญ อันนี้องค์สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า ท่านที่ บวชเป็นพระด้วยตนเองจะมีอานิสงส์พิเศษที่องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ตรัสไว้ แต่ทว่า ภิกษุสามเณรท่านใดผิดบทบัญญัติในพระพุทธศาสนาก็พึงทราบว่า เมื่อเวลาตายก็มีอเวจีเป็นที่ไปเหมือนกัน อานิสงส์ที่พึงได้ใหญ่เพียงใด โทษก็มีใหญ่เพียงนั้น

สำหรับบรรดาท่านผู้ไม่ใช่บิดามารดาของบุตรกุลธิดาที่อุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนา เป็นผู้ช่วยในการบวช นี่หมายความว่า เวลาเขาจะบวชพระครั้งหนึ่ง เราทราบเข้าก็ไปบำเพ็ญกุศลร่วมกับเข้าด้วยจตุปัจจัยมากบ้างน้อยบ้าง ให้สิ่งของบ้าง ช่วยขวยขวายในกิจการงานในการที่จะอุปสมบทบ้าง หมายความว่า เขาจะบวชลูกบวชหลานของเขา เราไม่มีลูกหลานจะบวช เขามาบอกบุญมาหรือไม่บอกบุญก็ตาม เอาจตุปัจจัยบ้าง เอาของที่จะพึ่งจะใช้ในงานบ้าง ไปช่วยในงานด้วยความเลื่อมใส ถ้าไม่มีจตุปัจจัย ไม่มีของ ก็เอากายไปช่วย ช่วยขวนขวายในกิจการงาน อย่างนี้องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดากล่าวว่าท่านผู้นั้นจะมีอานิสงส์เสวยความสุขอยู่บนสวรรค์ หรือในพรหมโลก คนละ ๘ กัป

แต่ถ้าหากเป็นคนฉลาด อย่างเช่นเขาบวชพระกัน ๔๒ องค์ เราก็ช่วยกันบำเพ็ญกุศลช่วยในการ บวชพระ ไม่เจาะจงท่านผู้ใดผู้หนึ่ง เรียกว่าช่วยหมดทั้ง ๔๒ องค์ ก็ต้องเอา ๔๒ ตั้งเอา ๘ คูณ นี่เป็นอันว่า…อานิสงส์ที่ที่จะพึงได้ในการอุปสมบทบรรพาชากุลบุตรกุลธิดาในพระพุทธศาสนาสำหรับผู้ช่วยงาน แต่สำหรับท่านผู้เป็น เจ้าภาพ ในฐานะคนที่บวชไม่ได้เป็นบุตรของเรา แต่ว่าเป็นผู้จัดการขวยขวายในการอุปสมบทบรรพชาให้ อันนี้องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดากล่าวว่า ท่านผู้จัดการบวชจะ ได้อานิสงส์ ๑๒ กัป จะมีผลหลั่นซึ่งกันและกัน

เสริมฮวงจุ้ยบ้าน

. โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ธรรมปฏิบัติเล่ม ๑ หน้า ๒๙-๓๕

.

1 แชร์ = บุญ

ดู 22 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page