อานิสงส์แห่งการถวายผ้าจีวร
“ผู้ถวายผ้าไตรจีวร แด่พระสงฆ์ด้วยจิตบริจาคที่บริสุทธิ์ อานิสงส์จึงบังเกิดเป็นผลบุญมหาศาล ดังนี้”
1.สามารถตัดบาปออกจากจิตใจ กำจัดกิเลสคือความโลภ ความตระหนี่ถี่เหนียว ให้บรรเทาเบาบาง 2.ยืน เดิน นั่ง เป็นสุขใจ เบิกบาน เกิดความภาคภูมิใจในบุญกุศลบังเกิดความอิ่มบุญ สุขใจ 3.พ้นจากความยากจน ความลำบาก ขัดสนใจทุกภพทุกชาติ มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยปัจจัย ๔ 4.เกิดชาติใดภพใด จะเป็นคนที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม ผิวพรรณผุดผ่องแจ่มใส
จุดประสงค์ การถวายผ้าจีวร
เพื่อให้พระภิกษุหมดภาระในการแสวงหาผ้านุ่งห่ม ไม่ต้องกังวลใจ มีเวลาปฏิบัติธรรมอย่างเพียงพอ และเป็นการช่วยให้พระภิกษุมีผ้านุงห่ม ป้องกันเหลือบยุง บำบัดความหนาว ป้องกันความร้อน ป้องกันไม่ให้ป่วยไข้เพราะร้อนและหนาวเกินไป และในสมัยพุทธกาลพระภิกษุจะใช้รักษาสุขภาพอนามัย คือใช้ชายจีวรกรองน้ำดื่มเมื่อถึงคราวจำเป็น
ไตรจีวร หมายถึง ผ้า ๓ ผืน นับเข้าในบริขาร ๘ อย่างของพระภิกษุสงฆ์ ไตรครองประกอบด้วย ผ้า ๗ ชิ้น – จีวร คือ ผ้าห่มของพระภิกษุ สามเณร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอุตราสงค์ – สบง หมายถึง ผ้านุ่ง ของพระภิกษุ สามเณร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อันตรวาสก ในพระวินัย กำหนดการนุ่งไว้คือ ด้านบนนุ่งปิดสะดือ แต่ไม่ถึงกระโจมอก ด้านล่างปิดหัวเข่า ลงมาเพียงครึ่งแข้ง การนุ่งแบบนี้ เรียกว่า นุ่งเป็นปริมลฑล – สังฆาฎิ คือ ผ้าซ้อนทับจีวรอีกชั้นหนึ่งป้องการความหนาว (ปัจจุบันใช้พาดบ่าเนื่องจากอากาศไม่หนาวจนเกินไป) – อังสะ หมายถึง ผ้าขนาดประมาณ ๒ x๑ ศอก สำหรับภิกษุสามเณร ใช้คล้องเฉียงบ่า ปิดไหล่ ตามพระวินัยห้ามมิให้เปลือยกายแต่ใช้ผ้าอังสะนี้ปิดร่างกายท่อนบน – ประคตเอว คือ เครื่องคาดเอว หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า รัดประคตนิยมใช้ด้ายถักเป็นแผ่นคล้ายเข็มขัด ยาวประมาณเมตรครึ่งถึง ๒ เมตร – ผ้ารัดอก หมายถึงผ้าหนา กว้างประมาณ ๑๕ เซนติเมตร ยาวประมาณเมตรครึ่งถึง ๒ เมตร ใช้สำหรับรัดอกภิกษุสามเณร – ผ้ากราบ หมายถึงผ้าที่พระสงฆ์ใช้รับของประเคนจากสตรีตามพระวินัยระบุว่า มิให้รับของประเคนมือต่อมือจากสตรี คำถวายผ้าไตรจีวร “อิมานิ มะยัง ภันเต ติจีวะรานิ สะปะริวานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โนภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ติจีวะรานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขสยะ”
Comments