top of page

เตรียมชม! ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ ดาวพุธ ศุกร์ เสาร์ เคียงดวงจันทร์ ยามค่ำคืน พฤษภาคมนี้

อัปเดตเมื่อ 25 มิ.ย. 2566

เตรียมชม! ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ ดาวพุธ ศุกร์ เสาร์ เคียงดวงจันทร์ ปรากฏการณ์ยามค่ำคืน พฤษภาคมนี้


ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ ในช่วงเวลากลางคืนนั้น นับเป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่หลายคนให้ความสนใจ เนื่องจากบางเหตุการณ์ต้องใช้เวลาหลายเดือนหรือหลายปีจึงจะเกิดขึ้น ในเดือน เดือนพฤษภาคม 2566 นี้ก็เช่นกัน โดยทาง ถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ NARIT ได้เผยข้อมูลปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจ เดือนพฤษภาคม 2566 ดังนี้


คืน 5 - เช้า 6 พฤษภาคม 2566 จันทรุปราคาเงามัว

คืน 7 - เช้า 8 พฤษภาคม 2566 ดาวแอนทาเรสเคียงดวงจันทร์

คืน 8 พฤษภาคม 2566 ดาวอังคารเคียงดาวพอลลักซ์

คืน 14 พฤษภาคม 2566 ดาวเสาร์เคียงดวงจันทร์

คืน 18 พฤษภาคม 2566 ดาวพุธเคียงดวงจันทร์

คืน 23 พฤษภาคม 2566 ดาวศุกร์เคียงดวงจันทร์

คืน 24 พฤษภาคม 2566 ดาวอังคารและดาวพอลลักซ์เคียงดวงจันทร์

คืน 27 พฤษภาคม 2566 ดาวเรกูรัสเคียงดวงจันทร์

คืน 29 พฤษภาคม 2566 ดาวพุธอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันตกมากที่สุด

คืน 29 พฤษภาคม 2566 ดาวศุกร์เคียงดาวพอลลักซ์

คืน 31 พฤษภาคม 2566 - เช้า 1 มิถุนายน 2566 ดาวสไปกาเคียงดวงจันทร์



ดาราศาสตร์


สำหรับ ปรากฏการณ์จันทรุปราคา เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจาก ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ โคจรมาอยู่ในระนาบเดียวกัน มีโลกอยู่กลางระหว่างดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง (Total Lunar Eclipse) จะเกิดในช่วงที่ดวงจันทร์เต็มดวงเคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในเงามืดของโลก ดวงจันทร์จะค่อยๆ แหว่งไปทีละน้อยจนมืดทั้งดวง ส่วนจันทรุปราคาเงามัว



(Penumbral Lunar Eclipse) เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เต็มดวงเคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในเงามัวของโลก โดยไม่ผ่านเงามืดแม้แต่น้อย และยังคงมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงแต่ความสว่างของดวงจันทร์จะลดน้อยลง


และเนื่องจากวงโคจรของดวงจันทร์ขณะโคจรรอบโลกมีลักษณะเป็นวงรี ตำแหน่งดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกที่สุด (Perigee) เฉลี่ยประมาณ 362,570 กิโลเมตร ตำแหน่งดวงจันทร์อยู่ไกลโลกที่สุด (Apogee) เฉลี่ยประมาณ 405,410 กิโลเมตร จุดทั้ง 2 มีระยะทางต่างกันประมาณ 42,840 กิโลเมตร ระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์ มีผลทำให้เงาของโลกที่ทอดลงบนผิวของดวงจันทร์มีความแตกต่างกันในแต่ละครั้งที่เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคา รวมถึงระยะเวลาการเกิดปรากฏการณ์ด้วย




ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ NARIT

ภาพ : shutterstock Ajanmay ซื้อ


ดู 5 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page