top of page

วันพระแรก แห่งปี ถวายสังฆทาน เสริมสร้างพลังอานิสงส์ที่ดีต้อนรับปีใหม่

อัปเดตเมื่อ 4 เม.ย. 2566

วันพระแรก
วันพระแรก

วันพระแรก แห่งปี เป็นวันพระแรกบนปฏิทิน 2566 ถือว่าเป็นวันที่หลายคนเริ่มสิ่งดีๆ ในวันขึ้นปีใหม่ไทย การถวายสังฆทาน ถือว่าเป็นการสร้างสะสมบุญให้ตนเอง สร้างพลังอานิสงส์ที่ดีต้อนรับปีใหม่2566


วันพระแรก
วันพระแรก

สังฆทานคืออะไร “สังฆทาน” คือ การถวายสิ่งของแก่หมู่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการถวายกลาง ๆ ไม่จำเพาะเจาะจงภิกษุรูปหนึ่งรูปใด เมื่อถวายให้แล้วก็ถือว่าพระภิกษุสงฆ์ทุกรูปมีสิทธิ์ใช้สอยสิ่งของเหล่านั้นตามสะดวก อาจจะมีเพียงตัวแทนสงฆ์เพียงรูปเดียวมารับประเคน ก็ถือว่าเป็นสังฆทานเหมือนกัน

การถวายทานแก่พระสงฆ์อย่างหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่ามีอานิสงส์มาก ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ทักขิณาวิภังคสูตร ว่าการถวายสังฆทานแก่คณะพระสงฆ์ มีอานิสงส์มากกว่าการถวายทานเฉพาะเจาะจงแก่พระพุทธเจ้า แม้ยังทรงพระชนม์อยู่

การถวายสังฆทานนั้น เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าคือการนำถังใส่จตุปัจจัยสีเหลืองไปถวายแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งหรือหลายรูปเท่านั้น แต่ความจริงแล้วสังฆทานอาจหมายถึงการถวายปัจจัยวัตถุใด ๆ ก็ได้ ที่เป็นประโยชน์แก่คณะสงฆ์โดยส่วนรวม เช่น การถวายกุฏิวิหาร หนังสือ ปากกา จาน หรือแม้กระทั่งไม้กวาด แม้จะกล่าวคำถวายหรือไม่กล่าว หรือกล่าวคำถวายเป็นอย่างอื่น แต่อาการแห่งการถวายเป็นการอุทิศให้แก่สงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ ก็จัดเป็นสังฆทานได้

สิ่งของที่จะถวายสังฆทาน มักเป็นสิ่งของที่จำเป็นสำหรับภิกษุสามเณร ถ้าต้องการอุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศลให้แก่ผู้ใด ผู้ถวายทานก็มักจะบอก หรือเขียนชื่อ-นามสกุล ให้แก่พระภิกษุ เพื่อท่านจะได้ทำพิธีอุทิศส่วนกุศลไปยังผู้ที่บอกชื่อนั้น ๆ

สิ่งของถวายสังฆทานที่มีความเหมาะสม สิ่งของที่นำมาถวายสังฆทาน ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ถวายว่าจะซื้อแบบสำเร็จรูป หรือสิ่งของนำมาจัดชุดสำหรับถวายเอง แต่ของที่จะมาไปถวายควรมีความเหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อพระสงฆ์ ตัวอย่างสิ่งของที่มีความเหมาะสมในการถวาย ดังนี้

  1. หนังสือและอุปกรณ์การเรียน เนื่องจากในปัจจุบันพระสงฆ์ส่วนใหญ่มีโอกาสในการศึกษา จึงมีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์การเรียน โดยเฉพาะหนังสือธรรมะ หนังสือบาลี สมุด กระดาษ ปากกา และดินสอ เพราะต้องใช้ในการศึกษาพระธรรม

  2. ผ้าไตรจีวร แม้จะเป็นสิ่งที่พบเห็นในชุดสังฆทาน แต่ส่วนใหญ่มักเป็นของที่ไม่ได้ขนาดและไม่มีคุณภาพ ดังนั้นผู้ถวายสังฆทาน ควรเลือกอย่างเหมาะสม เช่น ผ้าไตรจีวรที่ทำจากผ้ามัสลิน *เพราะเนื้อผ้าเหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนชื้น

  3. ยารักษาโรค ควรถวายยาดี มีคุณภาพ และเป็นยาสามัญทั่ว ๆ ไป ที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน

  4. ของใช้ส่วนตัว เช่น มีดโกน *ควรเลือกยี่ห้อที่มีคุณภาพ เพราะพระสงฆ์ใช้ในการปลงผมได้อย่างสะดวกและปลอดภัย สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน รองเท้า และผ้าขนหนู เป็นต้น

  5. เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ให้แสงสว่าง ในยุคโลกหมุนตามเทคโนโลยี วัดต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา ซึ่งยังมีหลายวัดที่ยังขาดแคลนอุปกรณ์เหล่านี้อีกเป็นจำนวนมาก อุปกรณ์ให้แสงสว่าง เช่น ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย และหลอดไฟ

  6. ผลิตภัณฑ์และชุดอุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาล้างจาน ไม้กวาด และไม้ถูพื้น

  7. อาหารแห้ง และเครื่องดื่ม พระสงฆ์บางวัดที่ไม่ได้มีการออกบิณฑบาตร อาจจะจำเป็นของกินอาหารสำเร็จรูป เช่น โจ๊ก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง ข้าวสาร ชา กาแฟ น้ำดื่ม หรือน้ำผลไม้

วิธีถวายสังฆทาน พิธีการถวายสังฆทานนั้น ไม่ได้มีขั้นตอนยุ่งยาก ทุกคนสามารถปฎิบัติตามขั้นตอนได้ ดังนี้

  1. บูชาพระรัตนตรัย จุดธูป 3 ดอก เทียน 2 เล่ม (*ด้านซ้ายและขวาของ พระพุทธรูป หรือด้านขวาและซ้ายมือของเรา) กล่าวภาษาบาลี

คำกล่าวบูชาพระ

อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวังตัง อะภิวาเทมิ (กราบ) สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมังนะมะสามิ (กราบ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ (กราบ)

วันพระแรก
วันพระแรก

คำกล่าวอาราธนาศีล

มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ

*เสร็จแล้วพระจะให้ศีล เราพนมมือกล่าวรับศีลจากพระ รับศีลจบแล้วตั้งนะโม เพื่อเป็นการเคารพนบนอบต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งนะโม 3 จบ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3 จบ)

  1. กล่าวคำถวายสังฆทาน คำกล่าวถวายสังฆทาน อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุ สังโฆอิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ


กล่าวคำแปลถวายสังฆทาน

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ เมื่อกล่าวคำถวายเสร็จ พระจะกล่าวพร้อมกันว่า “สาธุ”

  1. ประเคนทานวัตถุแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยหลังจากประเคนถวายพระภิกษุสงฆ์แล้ว เมื่อพระสงฆ์ผู้นำสวดอนุโมทนาด้วยบทยะถา วาริวะหา ให้ผู้ถวายทานเริ่มกรวดน้ำ

คำกล่าวกรวดน้ำ

ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา จันโท ปัณณะระโส ยะถา มะนิโชติระโส ยะถา

*ถึงบทที่พระสงฆ์ผู้นำสวดถึง “มณีโชติรโส ยะถา” ก็ให้หยุดการกรวดน้ำ แล้วพนมมือรับพรพระต่อไปจนจบ

บทสวดรับพรพร้อมกัน สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ

สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง

*จากนั้นให้นำน้ำที่กรวดแล้ว ไปเทลงดิน ใต้ต้นไม้ อย่างมีสติ


#ความเชื่อ #ซินแสเก่งๆ #ดวง #วันพระ #ฮวงจุ้ย #กระเป๋าสตางค์เรียกทรัพย #ปีใหม #อาจารย์เมย์ #วันพระแรก #เรียกทรพย์ #โมบายฮวงจุ้ย

ดู 2 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page